“ระบบสุริยะ” คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
“ระบบสุริยะ” คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
Blog Article
ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่ง อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก มีดาวเคราะห์และดาวบริวารโคจรโดยรอบ เอื้อต่อการดำรงชีวิต นักดาราศาสตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันศึกษาดาราศาสตร์ กลุ่มดาวต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่น
ระบบสุริยะ คืออะไร
ระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับโลกที่เราอยู่ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีก 8 ดวง รวมถึงดาวบริวารต่างๆ มีการศึกษาทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะไว้ดังนี้

Pierre Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะมีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการหมุนรอบตัวเอง มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซแยกตัวออกไปจากศูนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม
และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณที่มีความหนาแน่นมากที่สุดของวง จะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัวเป็นดาวเคราะห์ (อ้างอิง rmutphysics)
ระบบสุริยะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ระบบสุริยะ (Solar System) มีจุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ที่มีวงโคจรของดาวเคราะห์ 8 ดวงอยู่เป็นดาวบริวาร ได้แก่
1. ดาวพุธ (Mercury)
ดาวพุธป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
2. ดาวศุกร์ (Venus)
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2
3. โลก (Earth)
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3
4. ดาวอังคาร (Mars)
ดาวอังคารดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ของระบบสุริยะ
5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
6. ดาวเสาร์ (Saturn)
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีวงแหวนอีกด้วย
7. ดาวยูเรนัส (Uranus)
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 เป็นดาวเคราะห์แก๊ส เต็มไปด้วยแอมโมเนียและมีเทน
8. ดาวเนปจูน (Neptune)
ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ลักษณะมีผิวสีน้ำเงิน ปัจจุบันถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ
ข้อถกเถียงเรื่องดาวพลูโต ถูกถอดออกจากระบบสุริยะ
ดาวพลูโตเคยเป็นดาวบริวารลำดับที่ 9 ของระบบสุริยะ แต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 สมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union’s : IAU) ได้โหวตดาวพลูโตออกจากระบบสุริยะ และระบุว่าพลูโตมีคุณสมบัติในเกณฑ์ “ดาวเคราะห์แคระ” เท่านั้น
ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดาวเคราะห์วงใน และดาวเคราะห์วงนอกที่รายล้อมดวงอาทิตย์ด้วยวงโคจรที่วัดได้ด้วยระยะทางปีแสง หรือระยะเวลาที่แสงเดินทางได้ใน 1 ปี ส่วนการกำหนดระยะทางวงโคจรว่าดาวเคราะห์ดวงใดจะเป็นวงในหรือวงนอก ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเดินทางของแสงจากดวงอาทิตย์ที่มาถึงดาวดวงนั้น ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง (Light Hours)